กิจกรรมระหว่างเรียน

กิจกรรมแสดงละคร

   

   

  





กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง

            การสร้างความแตกต่างเป็นวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ขององค์กรให้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน คือ การสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความแตกต่างดังกล่าวไปใช้ในการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
            ในโลกที่การแข่งขันทางการตลาดมีความรุนแรง การสร้างความแตกต่างจึงเป็นกลยุทธ์ที่ถูกนำไปใช้โดยองค์กรจำนวนมาก ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์เอง ก็มีการนำเอากลยุทธ์การสร้างความแตกต่างไปใช้ ซึ่งรูปแบบการสร้างความแตกต่างนั้นมีอยู่ 5 รูปแบบด้วยกัน คือ
            1.การสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ของธนาคาร เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือ บริการต่างๆที่ธนาคารให้กับลูกค้า เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ “          ร่มโพธิ์  ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์กับบริการ SCB Auto Finance สะดวกสบายกับบริการสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ พร้อมให้คุณมั่นใจกับบริการระดับ World Class โดยไม่ต้องนำทรัพย์สิน มาเป็นหลักประกัน
            2.การสร้างความแตกต่างในบริการ เป็นการสร้างความแตกต่างโดยเน้นที่บริการประกอบอื่นๆที่ให้กับลูกค้าเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มีสถานที่ที่ให้บริการทั้งในประเทศซึ่งมีสาขาทั้งหมด 1,173 สาขา โดยแบ่งเป็น กรุงเทพและปริมณฑล 530 สาขา  ส่วนต่างจังหวัด             643 สาขา  ต่างประเทศ 4 สาขาเป็นต้นเวลาเปิด-ปิดทำการจะแตกต่างกันออกไปของแต่ละสาขาความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้าแต่ละราย
            3.การสร้างความแตกต่างในบุคลากร เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับพนักงานของธนาคาร เช่น บุคลิกภาพของพนักงาน มารยาทของพนักงาน การทักทาย ภาษา การมีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี
            4.การสร้างความแตกต่างในช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับความสะดวกของการใช้บริการของธนาคาร เช่น มีสาขาอยู่ทุกแห่งทั้งต่างประเทศและในประเทศ เช่น ห้างสรรพสินค้า สาขาในตลาดนัด รถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดิน มีสาขาอยู่ตามจังหวัดต่างๆที่มีเศรษฐกิจที่ดี มีสาขาในสำนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น
            5.การสร้างความแตกต่างในภาพพจน์ขององค์กร เป็นการเน้นสร้างภาพพจน์ขององค์กรให้เกิดขึ้นในการรับรู้ของผู้บริโภค การเน้นการสร้างภาพพจน์ของธนาคารที่รับผิดชอบต่อสังคมในการจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ให้ทุนการศึกษา เช่น ไทยพาณิชย์ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งกับกองทัพอากาศในหลายพื้นที่ของประเทศ โครงการศิลปะสร้างสุข เปิดศูนย์เรียนรู้แห่งที่ ที่ โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล เป็นต้น



กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร
            กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร ประกอบด้วยกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s ได้แก่
                        ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร (Product of Banking)
                        สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                                    1.ผลิตภัณฑ์หลักของธนาคาร มีดังนี้
                        1.ธนาคารค้าปลีก (Retail Banking) เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วๆไป บริการหลักๆมีดังนี้
            -บริการเงินฝาก มีหลายรูปแบบ คือ
                              * เงินฝากออมทรัพย์ เป็นเงินฝากประเภทที่ลูกค้าสาขา ฝาก-ถอนได้ทุกเวลา ทุกสาขา เช่น เงินฝากออมทรัพย์ “ร่มโพธิ์ ของธนาคารไทยพาณิชย์ เงินฝากออมทรัพย์      ดอกเบี้ยเพิ่มพูนทุกวัน ไม่เสียภาษี
               * เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากประเภทที่ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ในปัจจุบันมีตั้งแต่ 361224 และ 36 เดือน ลูกค้าต้องรอให้ครบกำหนดก่อนจึงจะถอนได้และได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนด ลูกค้าสามารถถอนก่อนกำหนดได้ แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ เช่น เงินฝากประจำ ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นเงินฝากประจำที่สามารถกำหนดระยะเวลาฝากได้ตั้งแต่ เดือนขึ้นไป ธนาคารจะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยได้รับดอกเบี้ยสูงและแน่นอนตลอดระยะเวลาฝาก               
        * เงินฝากรูปแบบอื่นๆ เช่น เงินฝากเพื่อการศึกษา เงินฝากเพื่อซื้อบ้าน เงินฝากพร้อมประกันชีวิต                  * บริการรับฝากเงินฝากสกุลต่างประเทศ เช่น เงินฝากสกุลต่างประเทศของธนาคารไทย พาณิชย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง และลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน เป็นต้น
            - บริการด้านสินเชื่อสำหรับประชาชน มีหลายรูปแบบด้วยกันคือ
                            * เงินกู้เพื่อการลงทุนธุรกิจรายย่อย     เพื่อเพิ่มทุนต่อยอดสูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง10 ปี
           * เงินกู้เพื่อการซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ต่อเติม  วงเงินกู้สูงสุด 90 ของราคาประเมินหลักประกัน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไงการอนุมัติของธนาคาร
             * เงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์  อัตราดอกเบี้ยคงที่และผ่อนชำระเป็นงวดๆ งวดละเท่ากัน โดยไม่ต้องนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน
            - บริการจ่ายชำระเงินสำหรับค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าซื้อ ค่าประกันภัย ค่าภาษี และอื่นๆรูปแบบการให้บริการมี 2 รูปแบบหลักๆ คือ
                        * บริการรับชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
                        * บริการรับชำระเงินโดยตัดบัญชีอัตโนมัติ
            - ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
                        * ธนาคารโทรศัพท์ (Tele-Banking) – เป็นการให้บริการลูกค้าในการทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ เช่น บริการ SCB Easy Phone ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นเรื่องการสอบถามยอดบัญชี การโอนเงิน การสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์การเงินของธนาคาร การชำระค่าสินค้าและบริการ การสอบถามสถานะเช็ค การอายัดรายการเช็ค หรือบัตรเอทีเอ็ม โดยสามารถทำผ่านทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 0 2 777 7777เป็นต้น
                        * เครื่อง ATM – เป็นการให้บริการลูกค้าในการฝาก-ถอนเงินผ่านทางเครื่อง ATM
            * ธนาคารอินเตอร์เน็ต (Internet Banking) – เป็นการให้บริการลูกค้าในการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น SCB Easy Net ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงินได้ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ /ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต พร้อมบริการที่หลากหลาย ปลอดภัย สะดวก เพื่อตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ที่รวดเร็วของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนมีสาขาธนาคารอยู่ข้างๆคุณ

            - บริการบัตรเครดิต เช่น บัตรเอ็กซ์ตร้า แพลทินัม ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น

            - บริการบัตรเครดิตหรือบริการบัตรเดบิตและบัตร ATM ในใบเดียวกัน
                        2. ธนาคารสำหรับองค์กรธุรกิจ (Corporate Banking)
            -บริการด้านเงินฝาก – บริการนี้จะคล้ายคลึงกับธนาคารค้าปลีก คือ มีบริการเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ เงินฝากกระแสรายวัน และรับฝากเงินตราต่างประเทศ
            - บริการด้านสินเชื่อสำหรับองค์กร มีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
                        * เงินกู้ระยะสั้นและเงินกู้ระยะยาว เช่น สินเชื่อธุรกิจรายย่อย ของธนาคารไทยพาณิชย์สินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจในแบบกล้าคิด ก็กล้าให้ ผ่อนชาระได้นานถึง สูงสุด 10 ปี
            - บริการจ่ายชำระเงิน มีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
• บริการจ่ายเงินเดือนพนักงานบริษัทโดยการนำเข้าบัญชี
•บริการรับชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าประกันภัย เป็นต้น
•บริการจ่ายชำระภาษีมูลค่าเพิ่มคืนให้กับลูกค้า
•บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ บริการทางด้านธนาคารโทรศัพท์ (Tele Banking) และธนาคารอินเตอร์เน็ต(Internet Banking)
•บริการค้ำประกัน เป็นบริการออกจดหมายหรือเอกสารค้ำประกันให้กับลูกค้าเพื่อรับรองจ่ายชำระเงินของลูกค้า เช่น จดหมายรับประกันการซื้อสินค้า เป็นต้น
3. บริการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ มีบริการหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
•บริการรับฝากเงินตราต่างประเทศ บุคคลธรรมดาหรือองค์กรจะเป็นผู้ฝากก็ได้
•บริการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Forward Exchange Service)
•บริการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งอาจจะส่งเป็นดราฟต์ เช็ค หรือการโอน (Wire Transfer)
•บริการนำเข้าและส่งออก(Import-Export) เช่น การออก Letter of Credit (L/C) โดยธนาคารจะชำระเงินให้กับธนาคารต่างประเทศตามเงื่อนไขใน L/C ล่วงหน้า แล้วค่อยเก็บเงินจากลูกค้า หรือบริการซื้อตั๋วชำระค่าภาษีนำเข้า โดยหักส่วนลดบางส่วนไว้ในกรณีนี้ ผู้นำเข้าจะไดรับเงินสดไปก่อน เป็นต้น
•บริการอื่นๆ เช่น การขายเช็คเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การออกจดหมายรับรองสถานะทางการเงินของลูกค้า เป็นต้น
4. บริการที่เกี่ยวกับตลาดทุน เช่น การเป็นตัวแทนรับซื้อขายหุ้น กองทุนรวม การจัดการกองทุนเลี้ยงชีพ เป็นต้น
5. บริการอื่นๆ เช่น บริการให้เช่าตู้นิรภัย บริการขายเช็คธนาคาร บริการขายเช็คของขวัญ เป็นต้น  
สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมนั้น เป็นบริการประกอบหรือประโยชน์อื่นๆ ที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น
1.สถานที่ของธนาคาร – ทั้งสถานที่ภายในและภายนอก สถานที่ภายในหมายถึง การมีสถานที่ที่เป็นระเบียบ สะอาด มีการตกแต่งที่เป็นมืออาชีพ สะดวกในการติดต่อ และมีบริเวณให้ลูกค้านั่งรอพร้อมมีหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้อ่าน ส่วนสถานที่ภายนอก หมายถึง ตัวอาคารที่ดูดีทันสมัย  เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับธนาคาร  นอกจากนั้นควรมีที่จอดรถให้ลูกค้าอย่างเพียงพอด้วย
2. การให้บริการ – การให้บริการจำเป็นต้องมีความถูกต้อง รวดเร็ว ลูกค้ารอคอยไม่นาน ธนาคารบางแห่งมีเคาน์เตอร์ด่วนในการให้บริการลูกค้าที่ต้องการทำรายการเดียว ทำให้ไมต้องรอคิวนานในเรื่องการให้บริการนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของต่างประเทศ มีการรับประกันว่า ลูกค้าแต่ละคนจะได้รับบริการที่รวดเร็ว โดยเวลาที่ใช้รอนั้นจะไม่เกินกว่าเวลาที่กำหนด เช่น 5 นาที หรือ 10 นาที
3. บุคคลากร – พนักงานที่ใช้บริการจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีความเป็นมิตรหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาดี รวมทั้งให้คำแนะนำลูกค้าต่างๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. ความปลอดภัย – ธนาคารจะต้องให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยแกลูกค้าในเวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยดูแล รวมทั้งมีการบันทึกภาพกล้องวีดีโอ นอกจากนี้ตัวธนาคารเองยังยังจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในเรื่องสถานะทางการเงินของธนาคารด้วย
5. เวลาทำการ – เวลาที่เปิดให้บริการจะต้องสะดวกต่อลูกค้า ปัจจุบันสาขาบางแห่งของธนาคารได้มีการเปิดให้บริการในช่วงหลัง 17.00 และเปิดให้บริการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ด้วย และเพิ่มสะดวกในการธุรกรรมโดยเปิดให้มีการบริการสาขาในห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการรวมทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นลักษณะสาขาจิ๋ว (Mini Branch)
6. การอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น เครื่อง Update สมุดบัญชีเงินฝาก เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติ และบริการแจ้งอัตราแลกเปลี่ยน สอบถามข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์จะให้ความสำคัญกับลูกค้าในลักษณะบริการครบวงจรมากขึ้น มีรูปแบบการให้บริการต้นเอง (Direct Banking) นำเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับธนาคารได้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ทางการเงินจะมีการพัฒนาให้ลูกค้าเข้าถึงการทำธุรกรรมที่สะดวก โดยนำการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) เข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน
ราคาหรืออัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
ราคา หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายกำหนดไว้สำหรับการขายสินค้าหรือบริการในธุรกรรมธนาคารพาณิชย์นั้น ราคาจะหมายถึงอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งเราสามารถจัดกลุ่มราคาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.       อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีออมทรัพย์และประจำทุกประเภท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารไทยพาณิชย์ ดังนี้  http://www.scb.co.th/stocks/media/ratesfees/deposit57-57.pdf
2.     อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารไทยพาณิชย์ ดังนี้ http://www.scb.co.th/stocks/media/ratesfees/loan-57-2.pdf
 3.       ค่าธรรมเนียมการให้บริการต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมบัตร ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมเช็คธนาคาร เช็คของขวัญ การโอนเงิน เป็นต้น
4.       อัตราแลกเงินตราต่างประเทศ
วิธีการตั้งราคานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ
1.       การตั้งราคาแบบบวกเพิ่มผลกำไร เช่น การคำนวณดูว่าต้นทุนของเงินเป็นเท่าไร ต้องการกำไรกี่เปอร์เซ็นต์จากต้นเงิน จากนั้นจึงนำกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น
2.       การตั้งราคาตามคุณค่าของบริการ ถ้าบริการมีคุณค่าสูง ราคาก็ต้องสูงตาม
3.       การตั้งราคาที่ดึงดูดใน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ เป็นต้น
4.       การตั้งราคาโดยคำนึงถึงมูลค่าของลูกค้าตลอดอายุ เช่น เงินฝากประจำ ยิ่งฝากนานดอกเบี้ยยิ่งสูง หรือเงินกู้ในระยะยาวที่อัตราดอกเบี้ยช่วงแรกอาจจะต่ำเป็นพิเศษแล้วค่อยเพิ่มสูงขึ้นในปีหลังๆเป็นต้น
5.       การตั้งราคาตามคู่แข่ง เป็นการกำหนดราคาเหมือนกันกับคู่แข่ง เช่น ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาเท่ากับธนาคารคู่แข่ง เป็นต้น
การตัดสินใจเรื่องราคาของธนาคารพาณิชย์นั้นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
-         - ต้นทุนเงิน
-         - ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
-         - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
-        -  ผลกำไรที่ต้องการ
-        -  การแข่งขัน

ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร
ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร หมายถึง วิธีการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าส่งหรือพ่อค้าปลีก แต่ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ซึ่งขายบริการนั้น ธนาคารมักจะติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งลูกค้าอาจมาติดต่อที่ธนาคารเองหรือธนาคารอาจออกไปหาลูกค้าก็ได้ ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคารพาณิชย์นั้นมีลักษณะดังนี้ คือ
1.สำนักงานใหญ่หรือสาขา เป็นช่องทางแบบดั้งเดิมที่ธนาคารใช้ในการให้บริการกับลูกค้าและยังคงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ช่องทางที่ ลูกค้าสามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกประเภท ปัจจัยหลักที่ใช้ในการเลือกสถานที่ตั้งของสาขาก็คือ ย่านชุมชนและย่านธุรกิจที่มีการคมนาคมที่สะดวก มีที่จอดรถอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าช่องทางนั้นจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด แต่การขยายสาขาจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ฉะนั้น จึงได้เกิดช่องทางใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก เขตจัตุจักร  
กรุงเทพฯ 10900
2.สาขาย่อย เป็นสาขาขนาดเล็ก (Mini Branch) ที่เข้าไปตั้งอยู่บนสถานีรถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้า สาขาย่อยเหล่านี้จะให้บริการเฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มี 1,173 สาขา ทั่วประเทศ
3. เครื่อง ATM เป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าสามารถถอน ฝาก และโอนเงินได้โดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ สามารถติดตั้งได้ทั่วไป
4.ธนาคารโทรศัพท์ (Tele-Banking) และธนาคารออนไลน์ (Online Banking) เป็นช่องทางใหม่ที่ธนาคารในประเทศไทยได้นำเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงิน โอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์มือถือ หรือทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มี SCB Easy Netที่ให้บริการโอนเงินภายในธนาคารบริการชำระค่าสินค้าหรือบริการโอนเงินล่วงหน้าบริการด้านการลงทุน ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน กองทุนรวม และรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุน เป็นต้น
การส่งเสริมการตลาดธนาคาร
การส่งเสริมการตลาดธนาคารเป็นเครื่องมือที่ธนาคารใช้ในการสนับสนุนการขาย ประกอบไปด้วย การโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ซึ่งจะรวมถึงการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ด้วย การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) และการตลาดทางตรง (Direct Marketing)
การโฆษณา
การโฆษณา หมายถึง กิจกรรมที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ใช้สื่อสารข้อมูลถึงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าโดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ นิตยสาร อินเทอร์เน็ต เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการโฆษณาก็เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และให้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เพื่อชักจูงใจผู้บริโภคให้มาใช้บริการ และเพื่อย้ำเตือนความจำของผู้บริโภค เช่น เงินฝากสมาร์ทคิดส์ เป็นบัญชีที่เปิดเพื่อรองรับเงินฝากที่ครบกำหนดจากบัญชีเงินฝากระยะยาว สมาร์ทคิดส์ และพ่อแม่สามารถฝากเงินเพิ่มให้กับลูกค้าได้ กรณีที่มีเงินมาก ๆ ที่ต้องการฝากให้ลูกในคราวเดียว (ธนาคารให้บริการเฉพาะลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากระยะยาว สมาร์ทคิดส์เท่านั้น ไม่สามารถเปิดเฉพาะบัญชีเงินฝากประจำ สมาร์ทคิดส์ อย่างเดียวได้)

 การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ที่ดีขององค์กรและผลิตภัณฑ์ งานการประชาสัมพันธ์นั้น มีหลายประเภท เช่น การมีส่วนร่วมในการออกแบบสัญลักษณ์ (Logo) และผลิตภัณฑ์ของธนาคาร การตกแต่งสำนักงาน การบอกข่าวหรือแจ้งข่าวที่เกี่ยวข้องกับธนาคารไปยังสื่อมวลชนเพื่อให้เสนอข่าวหรือการแถลงข่าวเป็นการเชิญสื่อมวลชนมาฟังการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เป็นต้น เช่น ไทยพาณิชย์ร่วมงาน Euromoney Conferences 2014
 นอกจากนี้  การสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนก็เป็นงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ โดยอาจจะมีการสังสรรค์เป็นระยะๆ กับสื่อมวลชนและนักข่าวในสายการเงิน ในธุรกิจธนาคารได้มีการรวมตัวกันระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารแต่ละแห่งเป็นชมรมของนักประชาสัมพันธ์คอยประสานงานกับสื่อมวลชน
การส่งเสริมการขาย
การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดที่มีขึ้นเพื่อกระตุ้น ให้เกิดยอดขายในระยะเวลาอันสั้น การทำการส่งเสริมการขายมีมากมายหลายวิธีด้วยกัน เช่น การลดราคา การชิงโชค การแลกซื้อ การแจกของแถม การให้ทดลองใช้ฟรี การแจกของตัวอย่าง เป็นต้น
การขายโดยใช้พนักงานขาย
บทบาทของธนาคารได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ธนาคารไทยพาณิชย์ในการเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคที่ความมั่นคงภายในประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระวังภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะวางรากฐานทางด้านการเงินการธนาคารให้แข็งแกร่ง และมั่นคงขึ้น พร้อมที่จะเป็นกำลังหล่อลื่นการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกันโดยธนาคารได้ปรับปรุงระบบงานของธนาคารให้ทันสมัยและมีประสิทธิ-ภาพพร้อมให้บริการลูกค้า ทำการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน พร้อมทั้งให้ความสำคัญแก่งานด้านทรัพยากร บุคคล ด้วยธนาคารตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของบุคลากรภายในธนาคารจึงจัดให้มีการพัฒนาพนักงานทั้งด้านการบริการ และปฏิบัติการ จัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

ธนาคารเสมือนจริง (Virtual Bank)
นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (Internet), คอลล์เซ็นเตอร์ (Call Center) , เอทีเอ็ม (ATM) และโมบายล์แบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ลูกค้าจะให้ความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเงินฝากดอกเบี้ยสูงและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการติดต่อผ่านวีดีโอ ซึ่งรูปแบบเวอร์ช่วลแบงก์มีต้นทุนที่ต่ำกว่า และในอนาคตพัฒนาการทางเทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยนจาก “สาขา” ของธนาคารไปสู่ “การให้บริการ” แก่ลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และวีดีโอภายในบ้านและการบริการเสมือนจริงผ่านชุมชนออนไลน์ (Virtual Community) รวมถึงการใช้เครื่องมือการบริการการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Management-PFM)
อ้างอิง:http://www.scb.co.th/th/home




อัตราดอกเบี้ยและอัตราดอกเบี้นเงินฝาก

ดอกเบี้ย คือ
  • ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ผลตอบแทนที่ผู้ให้สินเชื่อได้รับจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะหมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้
  • ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์แจกของสมนาคุณให้กับลูกค้า อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น
    เพื่อจูงใจให้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ดังนั้น การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับแท้จริงต้องรวมมูลค่าของสมนาคุณด้วย
อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง) คือ
          อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อจากลูกค้า ได้แก่ 

          MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

          MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี

          MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น

          CPR (Consumer Product Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารประกาศ หากอัตราดอกเบี้ยและวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญานี้ขัดต่อกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถือเอาอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารอาจเรียกเอาจากผู้กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอนุญาตเป็นอัตราบังคับใช้ตามสัญญาข้อนี้ ณ วันที่ มกราคม พ.ศ.2549 อัตราดอกเบี้ย CPR = 18%  ต่อปี


อัตราดอกเบี้ย SCB


อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (สกุลเงินบาท)


อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (สกุลเงินต่างประเทศ)

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนี่ยมอื่นๆ






อ้างอิงจาก http://www.scb.co.th/th/home





กรณีศึกษาโครงสร้างการจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)                           
                                     
                                      รูปแบบการจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน )

        ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีรูปแบบโครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure) หรือที่เรียกว่า Matrix Organization เพราะ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ จำนวนของกรรมการในคณะกรรมการธนาคารให้เป็นไปตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน หรือหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด (แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) จะต้องเป็นกรรมการอิสระ และจำนวนกรรมการที่เป็นผู้บริหารต้องไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยที่กรรมการอิสระจะต้องปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ 2 หน้าที่ โดยเป็นทั้งคณะกรรมการและเป็นกรรมการอิสระ และคณะกรรมการธนาคารยังมีหน้าที่ ที่ซ้ำซ้อนกัน เช่น คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ กรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม และกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล ซึ่งถือว่าเป็นโครงสร้าองค์กรแบบแมททริกส์ และองค์การยังได้แบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็นฝ่ายคณะกรรมการธนาคารชุดย่อย และคณะกรรมการฝ่ายจัดการโดยระบุความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน

                     โครงสร้างองค์กรของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)



                                  ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน )
ธนาคารไทย์พาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะต้องมีการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ เพราะพนักงานของธนาคารที่มีคุณภาพสามารถรับผิดชอบงาน และปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย เป้าหมายขององค์การก็สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ การจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์ก็ คือการกำหนดอำนาจหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบให้แน่ชัดในรูปของผังการจัดค์การ (Organization Chat) โดยมีลักษณะขององค์การดังนี้
1. Organization Chat  รวมของทั้งระบบ
         เริ่มจากคณะกรรมการของธนาคารประกอบด้วยคณะกรรมการธนาคารชุดย่อย และคณะกรรมการฝ่ายจัดการทคณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งขึ้น เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร ดังนี้



คณะกรรมการชุดย่อย (Board Committees) 4 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งแต่ละชุดมีองค์ประกอบ บทบาท และหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-  คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของธนาคารตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย โดยมีความรับผิดชอบหลักในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา อันได้แก่ แผนกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปี งบการเงิน การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญ
คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมทั้งสอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่พิจารณา คัดเลือก ทบทวน เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ประเมินผลการปฏิบัติงานของธนาคารตามที่ได้รับทราบจากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-  คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายในการสรรหากรรมการธนาคาร นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน นโยบายด้านบรรษัทภิบาลของธนาคาร เป็นต้น 
-  คณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม   มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดทิศทาง กำกับ ดูแล และประเมินผลการดำเนินธุรกิจที่จะสนับสนุนโครงการกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการวางรากฐาน สานต่อ ก่อเครือข่าย      
 คณะกรรมการฝ่ายจัดการ มีทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการ คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร คณะกรรมการโครงการปรับปรุงธนาคาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และคณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละคณะดังนี้   
-  คณะกรรมการจัดการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการดำเนินธุรกิจของธนาคาร อาทิ การทบทวนผลการดำเนินงานและแนวทางกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและพิจารณาการดำเนินงานที่เหมาะสม พิจารณา
-  คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของธนาคาร รวมทั้งกำกับดูแล ติดตาม และทบทวนการนำนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยกรบุคคลในหน่วยงานต่าง ๆ ของธนาคารไปปฏิบัติ
-  คณะกรรมการโครงการปรับปรุงธนาคาร
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางโครงสร้างของโครงการปรับปรุงธนาคาร ติดตาม       ความคืบหน้าและสร้างความสอดคล้องกันของทุกโครงการ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากร แก้ปัญหา และตัดสินใจในประเด็นที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้โครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการปรับปรุงธนาคารดำเนินการได้สำเร็จ
-  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการกำหนดนโยบายและ      แนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการธนาคาร พิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม
-  คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน  หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง ด้านอัตราดอกเบี้ยและด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของทางการ
-  คณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน  มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนงานการลงทุนในตราสารทุนให้สอดคล้องกับนโยบายโดยรวมของธนาคาร


2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ
        ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 3 ลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย
1. กลุ่มธุรกิจ คือ ธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้าธุรกิจ ลูกค้าบุคคล และธุรกิจพิเศษ
2. กลุ่มงานสนับสนุน คือ บริหารความเสี่ยง การเงิน งานกฎหมาย ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารงานสื่อสารองค์กร
3. กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ คือ หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ บลจ.ไทยพาณิชย์ ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย

โครงสร้างสายงาน
 


3. Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่
          ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทางการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้  จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน

4. Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา
          ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีสาขาต่างประเทศ 4 สาขา ในประเทศไทยทั้งหมด 1,181 สาขา โดยแบ่งเป็น
กรุงเทพ    357 สาขา
ภาคอีสาน 403 สาขา
ภาคเหนือ  121 สาขา
ภาคใต้       153 สาขา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   147 สาขา
 **ข้อมูลสรุปจำนวนสาขา  ณ เดือนเมษายน ปี 2557 จากธนาคารแห่งประเทศไทย
        สาขาของธนาคารจะได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ในการบริหาร ดูแล และสนับสนุนให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขา     เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย


ที่มา : รายงานประจำปี 2556 ,เว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดมหาชน,เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย



เข้าร่วมการแข่งขัน Young Financial Star Competition 2014



ศึกษาดูงาน มหกรรมการเงิน MONEY EXPO 2014






ศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย





 



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น